วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

11. ) การมีกิจนิสัย, คุณธรรม, จริยธรรม และ ค่านิยมที่ดี ในการประกอบอาชีพ

11. ) การมีกิจนิสัย, คุณธรรม, จริยธรรม และ ค่านิยมที่ดี ในการประกอบอาชีพ
นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลชุดนี้กำหนดไว้ชัดว่าคุณธรรมนำความรู้ แทนความรู้คู่คุณธรรม พร้อมเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี โดยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้คุณธรรมเป็นฐานจะต้องเชื่อมโยงกับ 3 สถาบัน คือครอบครัว สถานศึกษา และศาสนา หรือ "บวร" คือบ้าน วัด โรงเรียน อย่างไรก็ตาม ศธ.ได้กำหนดเป็นโครงการการเสริมสร้างคุณธรรมในระบบการศึกษาไทย ซึ่งจะเป็นแผนแม่บทในการศึกษาของไทย โดยมอบให้แต่ละหน่วยงาน และสถาบันการศึกษาพิจารณา และทบทวนสิ่งที่ทำอยู่แล้วว่ามีอะไร และมีสิ่งใหม่ที่จะเสริมเติมเต็ม โดยดึงเอาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นเครือข่าย รวมทั้งอาจต้องฟื้นกิจกรรมบางอย่าง เช่น กิจกรรมค่าย การบำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร เป็นต้น ในระดับอุดมศึกษา ต้องเป็นที่พึ่งให้กับการศึกษาในระดับอื่นๆ ในการให้ความรู้ความเข้าใจ และเป็นตัวอย่างการเสริมสร้างคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์"
ความเป็นมา
           โรงเรียนวิถีพุทธ   หมายถึง  โรงเรียนระบบปกติทั่วไปที่นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาใช้  หรือประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ  และการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา  เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาคือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา อย่างบุราณการ  ผ่านการกิน  อยู่ ดู  ฟัง  ให้เป็น  มีปัญญา  รู้  เข้าใจคุณค่าแท้  ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงปัญญา  และมีวัฒนธรรมเมตตาเป็นฐานการดำเนินชีวิต โดยมีผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูเป็นกัลยาณมิตรในการพัฒนาและต้องเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด  ด้วยความร่วมมือของทั้งสถานศึกษา บ้าน วัดและสถาบันต่างๆในชุมชนด้วยศรัทธาและฉันทะ ที่จะพัฒนาทั้งนักเรียน และสังคม ตามวิถีแห่งพุทธธรรมเพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน  ทั้งนี้ผู้บริหารและครูจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในวิถีชีวิตจริง ในลักษณะ สอนให้รู้ ทำให้ดู  อยู่ให้เห็น การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาโดยการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน  ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมีคุณลักษณะที่ดีตามวิถีพุทธ  เช่น  ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และพัฒนาตนให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ละ เลิกอบายมุข  การถือศีล 5 เป็นนิจ  ความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์  และการเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เด็กและเยาวชนเติบโตอย่างมีคุณธรรม  มีความรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลง เป็นพลังยิ่งใหญ่ที่ช่วยสร้างสังคมที่ดี สงบและสันติ  ดังคำกล่าวของพระธรรมปิฎก (ป. อ. ประยุทธ์ ปยุตโต)  ที่ว่า  “  โรงเรียนวิถีพุทธจะเดินหน้าต่อไปอย่างมีพลัง  ในการที่จะสร้างสรรค์อนาคตของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลกทั้งหมด ให้เป็นวิถีแห่งสันติสุขที่ยั่งยืนสืบไป
ความหมายของจริยธรรม
คำว่า จริยธรรมแยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า หลักแห่งความประพฤติหรือ แนวทางของการประพฤติพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า "จริยธรรม" คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรมโดยทั่วไปจริยธรรมมักอิงอยู่กับศาสนา ทั้งนี้เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่าจริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธกำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร นั่นหมายความว่า ได้กำหนดหลักจริยธรรมไว้ให้ปฏิบัติอย่างนั้นแต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จริยธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงนั้นจริยธรรมหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี โดยนัยนี้ บางคนเรียกหลักแห่งความประพฤติอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนาว่า "ศีลธรรม" และเรียกหลักแห่งความประพฤติอันพัฒนามาจากแหล่งอื่น ๆ ว่า "จริยธรรม"จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่จริยธรรมจะมีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม เพราะศีลธรรมเป็นหลักคำสอนทางศาสนาที่ว่าด้วยความประพฤติปฏิบัติชอบ ส่วนจริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติปฏิบัติชอบอันวางรากฐานอยู่บนหลักคำสอนของศาสนา ปรัชญาและขนบธรรมเนียมประเพณี อีกทั้งจริยธรรมมิใช่กฎหมาย ทั้งนี้เพราะกฎหมายเป็นสิ่งบังคับให้คนทำตาม และมีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ดังนั้น สาเหตุที่คนเคารพเชื่อฟังกฎหมายเพราะกลัวถูกลงโทษ ในขณะที่จริยธรรมไม่มีบทลงโทษ ดังนั้นคนจึงมีจริยธรรมเพราะมีแรงจูงใจ แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมในฐานะเป็นแรงหนุนจากภายนอกเพื่อให้คนมีจริยธรรม จากนิยามที่ยกมานั้น สามารถประมวลสรุปความได้ว่า
 จริยธรรม คือ แนวทางของ การประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เป็นประโยชน์สุขของตนเองและส่วนรวม
กล่าวโดยสรุป จริยธรรมก็คือ สิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ โดยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติที่ได้จากหลักการทางศีลธรรม หลักปรัชญา วัฒนธรรม กฎหมายหรือจารีตประเพณี เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม นอกจากนี้ จริยธรรมยังใช้เป็นแนวทางประกอบการติดสินใจเลือกความประพฤติ/การกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ด้วย
ลักษณะการปฏิบัติและลักษณะความคิดที่จัดเป็นคุณธรรมนั้นมีสภาพเป็นอยู่มากมาย จึงได้มีการจัดกลุ่มคุณธรรมหลักขึ้น เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจลักษณะคุณธรรมในระดับต่าง ๆ ดังลักษณะคุณธรรมที่ได้รวบรวมมาจากผล การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย ในส่วนของนโยบายและการพัฒนาเด็กระยะยาวด้านจริยธรรม จากแนวคิดของสาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี ดังต่อไปนี้
๑. การรักความจริง การไม่พูดปดและไม่ฉ้อฉล การรักษาคำมั่นสัญญา
๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น
๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ
๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ
๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง
๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม
๗. ความเสมอภาค
๘. ความเสียสละ
๙. ความซื่อสัตย์
๑๐. ความกล้า
๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง
๑๒. ความสามัคคี
๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย
๑๕. ความพากเพียรและอดทน
๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน
๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร
๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ
๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ
๒๑. การมีคาวรธรรม
๒๒. การมีสามัคคีธรรม
๒๓. การมีปัญญาธรรม
๒๔. ความไม่ประมาท
๒๕. ความกตัญญูกตเวที
๒๖. การรักษาระเบียบวินัย
๒๗. การประหยัด
๒๘. ความยุติธรรม
๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น