วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

9. ) การลงบัญชีรายรับ-รายจ่าย

9. ) การลงบัญชีรายรับ-รายจ่าย
ตัวอย่างการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย หมายถึง การจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินหรืออย่างน้อยที่สุดบางส่วนเกี่ยวข้องกับการเงิน โดยผ่านการวิเคราะห์ จัดประเภทและบันทึกไว้ในแบบฟอร์ม ที่กำหนดเพื่อแสดงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ประโยชน์ของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
1.     เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินกิจการ เพื่อให้ทราบว่ามีทรัพย์สิน หนี้สิน และเงินทุนเป็นจำนวนเท่าใด  เป็นหลักฐานในการตรวจสอบ ตัวเงินสดกับยอดบัญชีว่าถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดอย่างไร  เป็นสถิติช่วยในการบริหาร การควบคุม การทำงบประมาณ เพื่อให้ผลงานมีประสิทธิ ภาพดียิ่งขึ้น
  ช่วยเป็นหลักฐานในการบริหารงาน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอีก
5 ช่วยในการคำนวณผลการดำเนินงานว่ามีกำไรหรือขาดทุนอย่างไร
6. ช่วยให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการว่า ทรัพย์สิน หนี้สิน และเงินทุนในขณะใดขณะ หนึ่ง เป็นจำนวนเท่าใด
          การบันทึกการปฏิบัติงาน หมายถึง การบันทึกรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ปัญหาที่พบและวิธีแก้ปัญหา อาจบันทึกเป็นรายวัน หรือรายสัปดาห์ก็ได้ เพื่อนำเป็นหลักฐานไปประเมินผลงานและปรับปรุงแก้ไขการทำงานในครั้งต่อไป นอกจากนั้นอาจบันทึกข้อมูลรายรับ -รายจ่ายของการปฏิบัติงานไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินผล การปฏิบัติงานเมื่อสิ้นสุดโครงการนั้น ๆ
ประโยชน์ของการบันทึกการปฏิบัติงาน
การบันทึกการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งจำเป็นมากในการดำเนินกิจการปลูกพืชสมุนไพร เพราะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการพอสรุปได้ดังนี้
1 ช่วยบันทึกความทรงจำว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างระหว่างการปฏิบัติงาน
2.   -เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการปฏิบัติงาน
 -เพื่อใช้เป็นข้อมูลฐานะทางการเงินของกิจการ
4.  -เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการดำเนินงาน ช่วยพัฒนานิสัยในการทำงานอย่างเป็นระบบและมีระเบียบแบบแผนการบันทึกทรัพย์สิน หนี้สิน เป็นการบันทึกรายการทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น ที่ดิน, เครื่องมือ, เครื่องจักรกลต่าง ๆ , อุปกรณ์การเกษตรต่าง ๆ , ปุ๋ย, ปัจจัยการผลิตอื่น ๆ , จำนวนผลผลิต, ผลผลิตที่คงเหลือ ตลอดจนหนี้สินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินการผลิต ในการบันทึกทรัพย์สิน - หนี้สินต่าง ๆ เพื่อจะนำไปใช้ในการสรุปฐานะทางการเงินและเป็นข้อมูลที่จะใช้ในการคำนวณหารายได้สุทธิต่อไปการจดบันทึกการปฏิบัติงาน เป็นการบันทึกข้อมูลในด้านการผลิต ที่สำคัญได้แก่
2.1  พันธุ์  บันทึก ชื่อพันธุ์ การคัดพันธุ์ การเตรียมพันธุ์ รวมถึงรายละเอียด  ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปรียบเทียบ เพื่อหาลักษณะ วิธีการที่เหมาะสมและให้ผลดีที่สุดในท้องถิ่นของตน วิธีการเก็บเกี่ยว โรค-แมลง ศัตรูพืชอื่น ๆ เพื่อพิจารณาการปลูกครั้งต่อไป
2.2 ความอุดมสมบูรณ์ของดิน  เช่น ผลการทดสอบดิน รวมทั้งชนิดและปริมาณปุ๋ยที่ใช้ ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเพื่อ ป้องกันและหาวิธีการปรับปรุงรักษาดินให้สมบูรณ์และรักษาความสมดุลของธาตุอาหารตลอดไป
2.3 ผลผลิต  เป็นรายงานปริมาณของผลผลิตที่ส่งจำหน่ายทั้งตลาดบริโภค และส่งจำหน่ายตลาด อุตสาหกรรม เพื่อเป็นแนวในการวางแผน กำหนดจำนวน และขนาดของพื้นที่ในการผลิตครั้งต่อไปได้อย่างถูกต้อง
2.4 สภาพแวดล้อม เป็นข้อมูลทั่วๆ ไปของสภาพแวดล้อมในการปลูกในขณะนั้นได้แก่ ปริมาณน้ำฝน การกระจายตัวของฝน สภาพแสง อุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด ทิศทางลม กระแสลม รวมถึงโรค-ศัตรูอื่น ๆ มาตรการการป้องกันกำจัด ปริมาณผลผลิตที่ได้คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ และเพื่อหาวิธีการปรับปรุงในการปลูกครั้งต่อไป
2.5 การตลาด ถือเป็นหัวใจที่มีความสำคัญและจำเป็นมาก ที่ผู้ผลิตควรรับทราบข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตลาด เช่น แหล่งรับซื้อ พ่อค้าคนกลาง ความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับปริมาณและราคาของผลผลิตในแต่ละช่วงของปี การบันทึกข้อมูลดังกล่าวนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดระบบการปลูกพืช การปรับปรุงดินบำรุงดินต่าง ๆ ตลอดจนช่วงเวลาที่เหมาะสมในการที่จะปลูกพืชในปีต่อไป
3. แนวทางการจดบันทึกการปฏิบัติงานในการปลูกพืชสมุนไพร ในการดำเนินการปลูกพืชสิ่งที่ต้องทำการจดบันทึกขณะปฏิบัติงานคือ ข้อมูลเกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่ปลูก ชื่อ พันธุ์ สภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปลูก การปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการจำหน่าย เพื่อให้ผู้ปลูกรับทราบและเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป การจดบันทึกการปฏิบัติงานทุก ๆ ขั้นตอนที่ได้ปฏิบัติในการปลูกพืช จนถึงการเก็บเกี่ยวและการจำหน่ายผลผลิต
3.  จดบันทึกค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งในการปลูกใน 1 ฤดูกาล เช่น
1) ค่าพันธุ์พืช
2) ราคาปุ๋ย
3) ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช  
4) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืช
5) ค่าแรงงาน แล้วจดบันทึกค่าใช้จ่ายรวมยอดไว้
4  จดบันทึกผลผลิตที่ได้ในการปลูกใน 1 ฤดูกาล เช่น
1) ผลผลิตจำนวนกี่กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 1 แปลง
2) ในการนำไปจำหน่ายได้กิโลกรัมละเท่าไร
3) ขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมและขายให้กับตลาดบริโภคสดในอัตราร้อยละเท่าไร
   5   นำเงินทุนและรายได้นำไปคำนวณหาผลกำไร
ส    สรุป
การจดบันทึกการปฏิบัติงานและการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เป็นการช่วยความท   ทรงจำ และถ้ามีการจดบันทึกกิจการต่าง ๆ อย่างมีระบบ การลงบัญชีที่ดี มี   ความเข้าใจในการจดบันทึก และการสรุปข้อมูลให้เหมาะสมแล้ว สามารถ   นำข้อมูลที่   ได้รับมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจทำการปลูกพืชให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด แนวโน้มของราคา ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ผลิตทราบได้ว่ากิจการของตนเป็นอย่างไร และวิธีการอย่างหนึ่งที่จะแสดงฐานทางการเงินและผลการดำเนินงานว่ามีรายรับ-รายจ่ายอย่างไร ช่วยในการประเมินผลการดำเนินงานว่ามีกำไร หรือขาดทุนอย่างไรอีกด้วย รูปแบบการบันทึกการปฏิบัติงานและการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
การบันทึกการปฏิบัติงานและการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย อาจบันทึกในหัวข้อต่อไปนี้
1. การบันทึกเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ เพื่อจะได้ทราบว่าในการผลิตพืชสมุนไพร จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ถ้าจำเป็นจะต้องซื้อจะเสียค่าใช้จ่ายมากน้อยเพียงใด 
2. การบันทึกการปฏิบัติงานปลูกพืชสมุนไพร เป็นการบันทึกข้อมูลในการปฏิบัติงาน เพื่อจะได้ทราบว่าการปฏิบัติงานในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์มีงานอะไรบ้าง มีปัญหาในการดำเนิน งานอย่างไร และได้แก้ปัญหานั้นอย่างไรควรมีการลงชื่อผู้ปฏิบัติงานด้วย
3. การบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่าย การบันทึกรายรับและรายจ่ายนับว่ามีความสำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลที่ต้องการใช้ในการกำหนดรายได้-รายจ่าย, การจัดทำแผนและงบประมาณ รวมถึงการกำหนดราคาขายด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น