วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

7. ) การเลือกซื้อสินค้ามาทำธุรกิจ

7. ) การเลือกซื้อสินค้ามาทำธุรกิจ
การเลือกทำธุรกิจเครือข่าย
มาทำความเข้าใจกันดีกว่า ว่าธุรกิจเครือข่ายที่เขาพูดกันมากมายว่า ทำแล้วจะร่ำรวย มี
รายได้มหาศาล นั้น จริงหรือไม่ก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อ เรามาดูโครงสร้างของอาชีพค้าขายกันก่อนดีไหม
7.1 ผู้ผลิต อาจเป็นโรงงานผู้ผลิตเอง จ้างเขาผลิต หรือเป็นตัวแทน แล้วแต่จะเลือก
7.2 ผู้ขาย อาจเป็นกลุ่มบุคคล หรือคนเดียว ทำในรูปค้าปลีกหรือค้าส่ง ขนาดเล็ก
กลาง ใหญ่ มีหน้าร้านหรือไม่มีหน้าร้าน(ตัวแทนนายหน้า)
7.3 ผู้ซื้อ คือคนทั่วไปที่มีความต้องการใช้สินค้า และมีกำลังซื้อ
ตามความหมายเดิม ๆ นักขาย หรือ นักธุรกิจอิสระ คือบุคคลที่ทำหน้าที่ในการนำเสนอ
สินค้าหรือบริการไปยังผู้ซื้อตามที่อยู่ของผู้ซื้อซึ่งอาจจะหมายถึงบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หรือที่ทำงาน
แล้วแต่จะสะดวก ซึ่งก็คือ ผู้ขาย นั่นเองแต่ปัจจุบัน มีการพยายามคิดแนวทางการทำงานที่ดูเรียบง่าย ด้วยการรวมเอาผู้ขายและผู้ซื้อมาเป็นบุคคลคนเดียวกัน และเรียกตัวเองว่า นักธุรกิจเครือข่ายด้วยการ สร้างเครือข่ายผู้บริโภคมาเป็นองค์กรของตัวเอง โดยมีรายได้จากการซื้อสินค้าใช้ของคนในเครือข่ายใครที่สามารถสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ ก็จะมีรายได้สูง ซึ่ง แท้ที่จริงแล้ว ก็คือ การมีลูกค้าหรือ มีผู้ซื้อสินค้าจำนวนมาก ส่งผลให้มียอดขายมากมาย ผู้ผลิตขายสินค้าได้มาก ก็จะคิดส่วนแบ่งทางการตลาดมาจ่ายคืนให้กับนักธุรกิจของตนเองมากตามสัดส่วนที่เกิดขึ้นจริงเห็นหรือไม่ว่า ธุรกิจเครือข่าย ก็ไม่แตกต่าง จากธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่พวกเรารู้จักกันดีมองให้ชัด ๆ กันอีกที จะเห็นว่า รายได้ของธุรกิจเครือข่าย จะมาจากการมีเครือข่าย มีสมาชิก มีนักธุรกิจอิสระ หรือผู้ซื้อ จำนวนมาก รวมกับ ยอดซื้อสินค้าที่พวกเขามีกันอย่างต่อเนื่องหรือซื้อซ้ำตลอดทุกเดือนดังนั้น ถ้าจะเลือกทำธุรกิจเครือข่าย ต้องเลือกบริษัทที่สามารถสร้างเครือข่ายได้ง่าย ค่าสมัครไม่แพง และต้องมีสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันที่มีคุณภาพ ทุกคนยอมรับที่จะซื้อซ้ำโดยไม่มีเงื่อนไขเลือกบริษัทถูก รู้วิธีการสร้างเครือข่าย สามารถวางแผนการทำงานและบริหารเครือข่ายของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะมีรายได้มากมาย มหาศาล จริง ๆ ครับ สาบานได้


8. ) การคิดราคาต้นทุน และกำไร

8. ) การคิดราคาต้นทุน และกำไร
การจัดการการตลาด
การจัดการการตลาด หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้านธุรกิจ ซึ่งจะต้องมีการวางแผนการผลิต การกำหนดราคา การจัดจำหน่าย ตลอดจนการดำเนินกิจการทุกอย่างเพื่อสนองความต้องการ และบริการให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคพอใจ ทั้งในเรื่องราคาและบริการ ซึ่งแยกกล่าวได้ดังนี้
8.1       การวางแผนการผลิต
ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินธุรกิจการทำผลิตภัณฑ์กระดาษสา จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ
1. ทุน ถ้าไม่มีทุนเป็นของตนเองต้องอาศัยแหล่งเงินกู้ จะต้องพิจารณาว่าแหล่งเงินกู้นั้นมาจากไหน ถ้ากู้จากเอกชนก็ต้องเสียดอกเบี้ยแพงกว่าสถาบันการเงิน ถ้าเสียดอกเบี้ยแพงจะคุ้มกับการลงทุนหรือไม่
2. แรงงาน ถ้าสามารถใช้แรงงานในครอบครัวได้ก็จะสามารถลดรายจ่ายลงได้
3. วัตถุดิบ สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นหรือไม่ หากไม่มีในท้องถิ่นจะมีปัญหาเรื่องราคาและการขนส่งหรือไม่
4. การจัดการ หมายถึง การจัดการด้านตลาด การจัดจำหน่าย ก่อนอื่นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่จะนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายการกำหนดราคาขาย ราคาต้นทุน กำไร และการลงบัญชีเบื้องต้น สิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งในการประกอบธุรกิจ ดังจะได้แยกกล่าวพอเป็นสังเขป ดังนี้
8.2       การกำหนดราคาขาย
เมื่อทำการผลิตผลิตภัณฑ์กระดาษสาขึ้นมาเพื่อการจำหน่าย สิ่งแรกที่ต้องทำคือการกำหนดราคขายที่ผู้ซื้อสามารถซื้อได้ในราคาไม่แพงจนเกินไป และผู้ขายก็พอใจที่จะขายเพราะได้กำไรตามที่ต้องการ การกำหนดราคาขายทำได้ดังนี้
1. ติดตามความต้องการของลูกค้า ลูกค้าเป็นผู้กำหนดราคาขาย ถ้าลูกค้ามีความต้องการและสนใจมากก็จะสามารถตั้งราคาได้สูง
2. ตั้งราคาขายโดยบวกราคาต้นทุนกับกำไรที่ต้องการก็จะเป็นราคาขาย ในกรณีเช่นนี้จะต้องรู้ราคาต้นทุนมาก่อนจึงจะสามารถบวกกำไรลงไปได้ การตั้งราคาขายนี้ จะมีผลต่อปริมาณการขาย ถ้าตั้งราคาขายไม่แพง หรือต่ำกว่าราคาตลาดก็สามารถขายได้จำนวนมาก ผลที่ได้รับคือ ได้กำไรเพิ่มมากขึ้นด้วยการกำหนดราคาขายมีหลายรูปแบบ แต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องคำนึงถึงราคาที่สูงที่สุดที่ผู้ซื้อสามารถซื้อได้และราคาต่ำสุดที่จะได้เงินทุนคืน
สรุป หลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาขาย มีดังนี้
1. ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนตามเป้าหมาย
2. เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาไม่ถูกหรือแพงจนเกินไป
3. เพื่อรักษาหรือปรับปรุงส่วนแบ่งของการตลาด กล่าวคือ ตั้งราคาขายส่งถูกกว่าราคาขายปลีก เพื่อให้ผู้รับซื้อไปจำหน่ายปลีกจะได้บวกกำไรได้ด้วย
4. เพื่อแข่งขันหรือป้องกันคู่แข่งขันหรือผู้ผลิตรายอื่น
5. เพื่อผลกำไรสูงสุด
การกำหนดราคาขาย มีหลักสำคัญ คือ ราคาต้นทุน + กำไรที่ต้องการ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องราวการคิดราคาต้นทุนให้เข้าใจก่อน
1.              การคิดราคาต้นทุน
การคิดราคาต้นทุน หมายถึง การคิดคำนวณราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มีค่าแรงค่าใช้จ่ายในการผลิต ประกอบด้วย ค่าเช่าสถานที่ ค่าไฟฟ้า ค่าขนส่ง ฯลฯ การคิดราคาต้นทุนมีประโยชน์ คือ
1) สามารถตั้งราคาขายได้โดยรู้ว่าจะได้กำไรเท่าไร
2) สามารถรู้ว่ารายการใดที่ก่อให้เกิดต้นทุนสูง หากต้องการกำไรมากก็สามารถลดต้นทุนนั้น ๆ ลงได้
3) รู้ถึงการลดต้นทุนในการผลิตแล้วนำไปปรับปรุง และวางแผนการผลิตเพิ่มขึ้นได้
ต้นทุนการผลิตมี 2 อย่าง คือ
1. ต้นทุนทางตรง หมายถึง ต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบรวมทั้งค่าขนส่ง
2. ต้นทุนทางอ้อม หมายถึง ต้นทุนที่จ่ายเป็นค่าบริการต่าง ๆ เช่น ค่าแรงงาน ค่าไฟฟ้า ค่าเชื้อเพลิง ทั้งนี้ ให้คิดเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตโดยตรง แล้วนำต้นทุนทั้งสองอย่างมาคิดรวมกันก็จะได้เป็นราคาต้นทุนรวม
สรุป การกำหนดราคาขาย จะต้องคำนึงถึง
1. ต้นทุนทางตรง + ต้นทุนทางอ้อม คือ ต้นทุนรวม
2. การหากำไรที่เหมาะสม ทำได้โดยเพิ่มต้นทุนรวมขึ้นอีก 20-30%
ตัวอย่าง ต้นทุนรวมในการทำดอกไม้จากกระดาษสา 500 บาทบวกกำไร 30% ของ 500 จะได้ = 150 บาท
ฉะนั้น ราคาขาย คือ ต้นทุน + กำไรคือ 500 + 150 เท่ากับ 650 บาทโดยทั่วไปร้านค้าปลีกจะกำหนดราคาขาย โดยการบวกกำไรที่ต้องการเข้ากับราคาต้นทุนการผลิตสินค้านั้น ๆ แต่บางรายก็กำหนดราคาสูง สำหรับการผลิตระยะเริ่มแรก เพราะความต้องการของตลาดค่อนข้างสูงในระยะเวลาอันสั้น การเปลี่ยนแปลงราคาขายอาจมีผลให้ยอดลดหรือเพิ่มขึ้นแล้วแต่ภาวะแวดล้อม จึงต้องคำนึงถึงเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงสามารถคิดราคาขายได้ง่าย ๆ ดังนี้
ราคาขาย = ราคาทุน (ต้นทุน + ค่าแรง) + กำไรที่ต้องการ

9. ) การลงบัญชีรายรับ-รายจ่าย

9. ) การลงบัญชีรายรับ-รายจ่าย
ตัวอย่างการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย หมายถึง การจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินหรืออย่างน้อยที่สุดบางส่วนเกี่ยวข้องกับการเงิน โดยผ่านการวิเคราะห์ จัดประเภทและบันทึกไว้ในแบบฟอร์ม ที่กำหนดเพื่อแสดงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ประโยชน์ของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
1.     เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินกิจการ เพื่อให้ทราบว่ามีทรัพย์สิน หนี้สิน และเงินทุนเป็นจำนวนเท่าใด  เป็นหลักฐานในการตรวจสอบ ตัวเงินสดกับยอดบัญชีว่าถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดอย่างไร  เป็นสถิติช่วยในการบริหาร การควบคุม การทำงบประมาณ เพื่อให้ผลงานมีประสิทธิ ภาพดียิ่งขึ้น
  ช่วยเป็นหลักฐานในการบริหารงาน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอีก
5 ช่วยในการคำนวณผลการดำเนินงานว่ามีกำไรหรือขาดทุนอย่างไร
6. ช่วยให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการว่า ทรัพย์สิน หนี้สิน และเงินทุนในขณะใดขณะ หนึ่ง เป็นจำนวนเท่าใด
          การบันทึกการปฏิบัติงาน หมายถึง การบันทึกรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ปัญหาที่พบและวิธีแก้ปัญหา อาจบันทึกเป็นรายวัน หรือรายสัปดาห์ก็ได้ เพื่อนำเป็นหลักฐานไปประเมินผลงานและปรับปรุงแก้ไขการทำงานในครั้งต่อไป นอกจากนั้นอาจบันทึกข้อมูลรายรับ -รายจ่ายของการปฏิบัติงานไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินผล การปฏิบัติงานเมื่อสิ้นสุดโครงการนั้น ๆ
ประโยชน์ของการบันทึกการปฏิบัติงาน
การบันทึกการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งจำเป็นมากในการดำเนินกิจการปลูกพืชสมุนไพร เพราะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการพอสรุปได้ดังนี้
1 ช่วยบันทึกความทรงจำว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างระหว่างการปฏิบัติงาน
2.   -เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการปฏิบัติงาน
 -เพื่อใช้เป็นข้อมูลฐานะทางการเงินของกิจการ
4.  -เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการดำเนินงาน ช่วยพัฒนานิสัยในการทำงานอย่างเป็นระบบและมีระเบียบแบบแผนการบันทึกทรัพย์สิน หนี้สิน เป็นการบันทึกรายการทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น ที่ดิน, เครื่องมือ, เครื่องจักรกลต่าง ๆ , อุปกรณ์การเกษตรต่าง ๆ , ปุ๋ย, ปัจจัยการผลิตอื่น ๆ , จำนวนผลผลิต, ผลผลิตที่คงเหลือ ตลอดจนหนี้สินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินการผลิต ในการบันทึกทรัพย์สิน - หนี้สินต่าง ๆ เพื่อจะนำไปใช้ในการสรุปฐานะทางการเงินและเป็นข้อมูลที่จะใช้ในการคำนวณหารายได้สุทธิต่อไปการจดบันทึกการปฏิบัติงาน เป็นการบันทึกข้อมูลในด้านการผลิต ที่สำคัญได้แก่
2.1  พันธุ์  บันทึก ชื่อพันธุ์ การคัดพันธุ์ การเตรียมพันธุ์ รวมถึงรายละเอียด  ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปรียบเทียบ เพื่อหาลักษณะ วิธีการที่เหมาะสมและให้ผลดีที่สุดในท้องถิ่นของตน วิธีการเก็บเกี่ยว โรค-แมลง ศัตรูพืชอื่น ๆ เพื่อพิจารณาการปลูกครั้งต่อไป
2.2 ความอุดมสมบูรณ์ของดิน  เช่น ผลการทดสอบดิน รวมทั้งชนิดและปริมาณปุ๋ยที่ใช้ ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเพื่อ ป้องกันและหาวิธีการปรับปรุงรักษาดินให้สมบูรณ์และรักษาความสมดุลของธาตุอาหารตลอดไป
2.3 ผลผลิต  เป็นรายงานปริมาณของผลผลิตที่ส่งจำหน่ายทั้งตลาดบริโภค และส่งจำหน่ายตลาด อุตสาหกรรม เพื่อเป็นแนวในการวางแผน กำหนดจำนวน และขนาดของพื้นที่ในการผลิตครั้งต่อไปได้อย่างถูกต้อง
2.4 สภาพแวดล้อม เป็นข้อมูลทั่วๆ ไปของสภาพแวดล้อมในการปลูกในขณะนั้นได้แก่ ปริมาณน้ำฝน การกระจายตัวของฝน สภาพแสง อุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด ทิศทางลม กระแสลม รวมถึงโรค-ศัตรูอื่น ๆ มาตรการการป้องกันกำจัด ปริมาณผลผลิตที่ได้คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ และเพื่อหาวิธีการปรับปรุงในการปลูกครั้งต่อไป
2.5 การตลาด ถือเป็นหัวใจที่มีความสำคัญและจำเป็นมาก ที่ผู้ผลิตควรรับทราบข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตลาด เช่น แหล่งรับซื้อ พ่อค้าคนกลาง ความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับปริมาณและราคาของผลผลิตในแต่ละช่วงของปี การบันทึกข้อมูลดังกล่าวนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดระบบการปลูกพืช การปรับปรุงดินบำรุงดินต่าง ๆ ตลอดจนช่วงเวลาที่เหมาะสมในการที่จะปลูกพืชในปีต่อไป
3. แนวทางการจดบันทึกการปฏิบัติงานในการปลูกพืชสมุนไพร ในการดำเนินการปลูกพืชสิ่งที่ต้องทำการจดบันทึกขณะปฏิบัติงานคือ ข้อมูลเกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่ปลูก ชื่อ พันธุ์ สภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปลูก การปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการจำหน่าย เพื่อให้ผู้ปลูกรับทราบและเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป การจดบันทึกการปฏิบัติงานทุก ๆ ขั้นตอนที่ได้ปฏิบัติในการปลูกพืช จนถึงการเก็บเกี่ยวและการจำหน่ายผลผลิต
3.  จดบันทึกค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งในการปลูกใน 1 ฤดูกาล เช่น
1) ค่าพันธุ์พืช
2) ราคาปุ๋ย
3) ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช  
4) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืช
5) ค่าแรงงาน แล้วจดบันทึกค่าใช้จ่ายรวมยอดไว้
4  จดบันทึกผลผลิตที่ได้ในการปลูกใน 1 ฤดูกาล เช่น
1) ผลผลิตจำนวนกี่กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 1 แปลง
2) ในการนำไปจำหน่ายได้กิโลกรัมละเท่าไร
3) ขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมและขายให้กับตลาดบริโภคสดในอัตราร้อยละเท่าไร
   5   นำเงินทุนและรายได้นำไปคำนวณหาผลกำไร
ส    สรุป
การจดบันทึกการปฏิบัติงานและการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เป็นการช่วยความท   ทรงจำ และถ้ามีการจดบันทึกกิจการต่าง ๆ อย่างมีระบบ การลงบัญชีที่ดี มี   ความเข้าใจในการจดบันทึก และการสรุปข้อมูลให้เหมาะสมแล้ว สามารถ   นำข้อมูลที่   ได้รับมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจทำการปลูกพืชให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด แนวโน้มของราคา ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ผลิตทราบได้ว่ากิจการของตนเป็นอย่างไร และวิธีการอย่างหนึ่งที่จะแสดงฐานทางการเงินและผลการดำเนินงานว่ามีรายรับ-รายจ่ายอย่างไร ช่วยในการประเมินผลการดำเนินงานว่ามีกำไร หรือขาดทุนอย่างไรอีกด้วย รูปแบบการบันทึกการปฏิบัติงานและการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
การบันทึกการปฏิบัติงานและการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย อาจบันทึกในหัวข้อต่อไปนี้
1. การบันทึกเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ เพื่อจะได้ทราบว่าในการผลิตพืชสมุนไพร จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ถ้าจำเป็นจะต้องซื้อจะเสียค่าใช้จ่ายมากน้อยเพียงใด 
2. การบันทึกการปฏิบัติงานปลูกพืชสมุนไพร เป็นการบันทึกข้อมูลในการปฏิบัติงาน เพื่อจะได้ทราบว่าการปฏิบัติงานในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์มีงานอะไรบ้าง มีปัญหาในการดำเนิน งานอย่างไร และได้แก้ปัญหานั้นอย่างไรควรมีการลงชื่อผู้ปฏิบัติงานด้วย
3. การบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่าย การบันทึกรายรับและรายจ่ายนับว่ามีความสำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลที่ต้องการใช้ในการกำหนดรายได้-รายจ่าย, การจัดทำแผนและงบประมาณ รวมถึงการกำหนดราคาขายด้วย

10. ) การเสียภาษีร้านค้า/ภาษีป้าย/ภาษีรายได้/อื่นๆ

10. ) การเสียภาษีร้านค้า/ภาษีป้าย/ภาษีรายได้/อื่นๆ
ภาษีรายได้หมายถึงอะไร
ภาษีรายได้คือภาษีที่เรียกเก็บจากรายได้ที่เกิดจากการประกอบธุรกรรม รายได้ที่จะนำมาคิดภาษีในรายการนี้ไม่รวมถึงรายได้ที่เกิดจากค่าจ้างหรือเงินเดือน เพราะรายได้ในรายการนั้นผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีในรายการ ภาษีรายได้จากค่าจ้าง” (Wage Income Tax)
ใครที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีรายได้
บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีรายได้ ได้แก่
-
บุคคลทั่วไป
-
ผู้ได้รับผลประโยชน์จากการประกอบธุรกรรมใดๆ
-
บริษัทจำกัด ห้างหุ่นส่วนจำกัด หุ้นส่วนรูปแบบอื่นๆ รัฐวิสาหกิจ สมาคม สหกรณ์มูลนิธิหรือองค์กรรูปแบบเดียวกัน สถาบัน กองทุนบำนาญ และธุรกิจรูปแบบอื่นๆ
-
ผู้ที่มีสถานะ non-resident ซึ่งมีถิ่นฐานถาวรในประเทศ
ทั้งนี้ บุคคลหรือองค์กรที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีรายได้นี้อาจเป็นผู้มีสถานะเป็นผู้มีถิ่นพำนัก หรือผู้ไม่ได้มีถิ่นพำนักในประเทศก็ได้
1.
ผู้เสียภาษีที่มีถิ่นพำนัก(resident taxpayer) ได้แก่
-
บุคคลที่พำนักอยู่ในประเทศในช่วงปีภาษีหนึ่งๆเกินกว่า 182 วัน
-
องค์กรที่จดทะเบียนในประเทศติมอร์ฯ
-
บุค 2. ผู้เสียภาษีที่มิได้มีถิ่นพำนัก(non-resident taxpayer) ได้แก่
-
บุคคลที่มิได้พำนักอยู่ในประเทศในช่วงปีภาษีหนึ่งเกินกว่า 182 วัน
-
บุคคลที่มีถิ่นอาศัยอยู่นอกประเทศ
-
องค์กรที่มิได้จดทะเบียนในประเทศคลที่มีสถานะ non-resident ที่ประกอบอาชีพโดยผ่านสถาบันถาวรในประเทศ
3. สถาบันถาวร (permanent establishment)สถาบันถาวรหมายถึงองค์กรจัดตั้งใดๆในติมอร์-เลสเตที่บุคคลซึ่งมีสถานะ non-resident อาศัยเป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจในประเทศติมอร์-เลสเต อาทิ
-
สถานที่ซึ่งมีการบริหารจัดการ
-
สำนักงานสาขา
-
สำนักงานตัวแทน
-
อาคารสำนักงาน
-
การก่อสร้าง การติดตั้ง หรือการประกอบให้เป็นรูปร่าง
-
การบริการตกแต่งที่ต้องใช้ลูกจ้างหรือบุคคลอื่นนอกเหนือจากตนเอง หากในช่วง 12 เดือนมีการดำเนินการเกินกว่า 60 วันจะต้องเข้าข่ายเสียภาษี
-
บุคคลหรือนิติบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทน
-
โรงงาน
-
สถานที่ทำงานสถานที่ใช้เพื่อการถลุง และแยกทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อการขุดเจาะเพื่อสำรวจแหล่งแร่
-
การประมง สถานที่ทำปศุสัตว์ ฟาร์ม ไร่ขนาดใหญ่หรือการปลูกป่า

-
ตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทประกันชีวิต
ใครที่ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีรายได้
ผู้ที่ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีรายได้ในสติมอร์ฯได้แก่
-
สำนักงานผู้แทนรัฐต่างชาติ
-
ผู้แทนทางการทูตและกงสุล
-
องค์การระหว่างประเทศที่มิได้ประกอบธุรกิจ
-
เจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศที่มิได้เป็นคนชาติติมอร์-เลสเต และมิได้ประกอบหรือเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
อะไรบ้างที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีรายได้
รายได้: รายได้ที่ต้องเสียภาษีรายได้คือส่วนเพิ่มที่ผู้เสียภาษีได้รับจากการประกอบธุรกรรม ส่วนเพิ่มนี้จะเรียกว่าอะไรก็ตาม หรือจะอยู่ในรูปแบบใด และเพิ่มขึ้นภายในหรือภายนอกประเทศก็ตาม หากส่วนเพิ่มนี้สามารถใช้เพื่อการบริโภคได้ หรือเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ผู้เสียภาษีได้แล้ว นับเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีทั้งสิ้น
รายได้ที่จะต้องเสียภาษีรายได้จะรวมถึงรายได้เหล่านี้ด้วยอาทิ
-
รายได้ที่เกิดจากงานหรือบริการ
-
เงินรางวัลล็อตเตอร์รี่ หรือของขวัญที่ได้จากการทำงานหรือการดำเนินกิจกรรม และเงินรางวัลต่างๆ
-   กำไรจากการประกอบธุรกิจ
- ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการขายหรือการโอนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้โดยรวมถึง
- ผลประโยชน์จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัทห้างหุ้นส่วนและบุคคลใดเพื่อ
แลกกับการได้รับหุ้นหรือหุ้นลงทุน
- ผลประโยชน์ที่บริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือบุคคลใดได้รับจากการที่โอนอสังหาริมทรัพย์
ให้แก่ผู้ถือหุ้น หุ้นส่วน หรือสมาชิก
- ผลประโยชน์จากการยุบเลิก การควบรวม การรวมบริษัท การขยาย การกระจาย
หรือการครอบครองธุรกิจ
- ผลประโยชน์จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ในรูปของของขวัญการช่วยเหลือ หรือการ บริจาค เว้นแต่เป็นการ
ให้แก่ญาติสืบสายโลหิต ศาสนา การศึกษาหรือองค์กรทางสังคมอื่นหรือธุรกิจขนาดเล็กโดยรวมถึงสหกรณ์
- การคืนเงินภาษีที่ได้มีการนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายแล้ว
- ดอกเบี้ย รวมถึงค่าธรรมเนียม ส่วนลด และเงินชดเชยที่เกิดขึ้นจากการประกันเงินกู้
- เงินปันผล ไม่ว่าจะเรียกชื่อหรือเป็นรูปแบบใด รวมถึงเงินปันผลที่บริษัทประกันจ่าย
ให้แก่ผู้เอาประกัน และเงินปันผลของสหกรณ์
- ค่า royalty
- ค่าเช่าและรายได้อื่นจากการที่มีผู้เข้ามาใช้อสังหาริมทรัพย์
- เงินรายได้รายปี
- ผลประโยชน์ที่ได้จากการยกเลิกหนี้
- ผลประโยชน์ที่เกิดจากความผันผวนของปริวรรตเงินตราต่างประเทศ
- ผลประโยชน์ที่เกิดจากการที่อสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
- ค่าธรรมเนียมเอาประกัน
ผู้เสียภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าดังนี้
- ส่วนของรายได้ระหว่าง 0 ดอลลาร์สหรัฐ – 3,368 ดอลลาร์สหรัฐ ร้อยละ 10
- ส่วนของรายได้ระหว่าง 3,368 ดอลลาร์สหรัฐ – 6,737 ดอลลาร์สหรัฐ ร้อยละ 15
- ส่วนของรายได้ตั้งแต่ 6,737 ดอลลาร์สหรัฐ ร้อยละ 30
ภาษีรายได้สำหรับผู้เสียภาษีนอกเหนือจากนี้เสียในอัตราเดียวคือร้อยละ 30
ผู้เสียภาษีรายได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ดังนี้
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 388 ดอลลาร์สหรัฐ
- ค่าใช่จ่ายของคู่สมรส 194 ดอลลาร์สหรัฐ
- ค่าใช้จ่ายของบุคคลในครอบครัวคนละ 194 ดอลลาร์สหรัฐ(ได้จำนวน 3 คน)
โดยที่ผู้ประกอบธุรกิจทุกรายมีหน้าที่จะต้องเสียภาษีรายได้ขั้นต่ำ (minimum income tax) ร้อยละ 1 ของยอดขาย
ในหนึ่งปีอีกรายการหนึ่งด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเสียภาษีรายได้(Income Tax) ซ้ำอีก เพราะวิธีที่
ทางการติมอร์ฯคิดคือ ในการคำนวณภาษีทุกปีภาษีรายได้ขั้นต่ำหรือภาษีรายได้ยอดภาษีใดสูงกว่า โดยผู้เสียภาษี
จะต้องเสียภาษีในยอดที่สูงกว่า
การเสียภาษีรายได้สามารถเสียได้สองวิธี
การเสียภาษีรายได้สามารถเสียได้สองวิธี
- เสียรายงวด และ/หรือ
- เสียครั้งเดียวเมื่อยื่นใบเสียภาษีประจำปี
วันสุดท้ายในการยื่นแบบฟอร์มเสียภาษีรายได้ (Income Tax) ประจำปีคือวันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี

11. ) การมีกิจนิสัย, คุณธรรม, จริยธรรม และ ค่านิยมที่ดี ในการประกอบอาชีพ

11. ) การมีกิจนิสัย, คุณธรรม, จริยธรรม และ ค่านิยมที่ดี ในการประกอบอาชีพ
นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลชุดนี้กำหนดไว้ชัดว่าคุณธรรมนำความรู้ แทนความรู้คู่คุณธรรม พร้อมเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี โดยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้คุณธรรมเป็นฐานจะต้องเชื่อมโยงกับ 3 สถาบัน คือครอบครัว สถานศึกษา และศาสนา หรือ "บวร" คือบ้าน วัด โรงเรียน อย่างไรก็ตาม ศธ.ได้กำหนดเป็นโครงการการเสริมสร้างคุณธรรมในระบบการศึกษาไทย ซึ่งจะเป็นแผนแม่บทในการศึกษาของไทย โดยมอบให้แต่ละหน่วยงาน และสถาบันการศึกษาพิจารณา และทบทวนสิ่งที่ทำอยู่แล้วว่ามีอะไร และมีสิ่งใหม่ที่จะเสริมเติมเต็ม โดยดึงเอาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นเครือข่าย รวมทั้งอาจต้องฟื้นกิจกรรมบางอย่าง เช่น กิจกรรมค่าย การบำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร เป็นต้น ในระดับอุดมศึกษา ต้องเป็นที่พึ่งให้กับการศึกษาในระดับอื่นๆ ในการให้ความรู้ความเข้าใจ และเป็นตัวอย่างการเสริมสร้างคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์"
ความเป็นมา
           โรงเรียนวิถีพุทธ   หมายถึง  โรงเรียนระบบปกติทั่วไปที่นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาใช้  หรือประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ  และการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา  เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาคือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา อย่างบุราณการ  ผ่านการกิน  อยู่ ดู  ฟัง  ให้เป็น  มีปัญญา  รู้  เข้าใจคุณค่าแท้  ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงปัญญา  และมีวัฒนธรรมเมตตาเป็นฐานการดำเนินชีวิต โดยมีผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูเป็นกัลยาณมิตรในการพัฒนาและต้องเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด  ด้วยความร่วมมือของทั้งสถานศึกษา บ้าน วัดและสถาบันต่างๆในชุมชนด้วยศรัทธาและฉันทะ ที่จะพัฒนาทั้งนักเรียน และสังคม ตามวิถีแห่งพุทธธรรมเพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน  ทั้งนี้ผู้บริหารและครูจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในวิถีชีวิตจริง ในลักษณะ สอนให้รู้ ทำให้ดู  อยู่ให้เห็น การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาโดยการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน  ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมีคุณลักษณะที่ดีตามวิถีพุทธ  เช่น  ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และพัฒนาตนให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ละ เลิกอบายมุข  การถือศีล 5 เป็นนิจ  ความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์  และการเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เด็กและเยาวชนเติบโตอย่างมีคุณธรรม  มีความรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลง เป็นพลังยิ่งใหญ่ที่ช่วยสร้างสังคมที่ดี สงบและสันติ  ดังคำกล่าวของพระธรรมปิฎก (ป. อ. ประยุทธ์ ปยุตโต)  ที่ว่า  “  โรงเรียนวิถีพุทธจะเดินหน้าต่อไปอย่างมีพลัง  ในการที่จะสร้างสรรค์อนาคตของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลกทั้งหมด ให้เป็นวิถีแห่งสันติสุขที่ยั่งยืนสืบไป
ความหมายของจริยธรรม
คำว่า จริยธรรมแยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า หลักแห่งความประพฤติหรือ แนวทางของการประพฤติพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า "จริยธรรม" คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรมโดยทั่วไปจริยธรรมมักอิงอยู่กับศาสนา ทั้งนี้เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่าจริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธกำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร นั่นหมายความว่า ได้กำหนดหลักจริยธรรมไว้ให้ปฏิบัติอย่างนั้นแต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จริยธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงนั้นจริยธรรมหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี โดยนัยนี้ บางคนเรียกหลักแห่งความประพฤติอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนาว่า "ศีลธรรม" และเรียกหลักแห่งความประพฤติอันพัฒนามาจากแหล่งอื่น ๆ ว่า "จริยธรรม"จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่จริยธรรมจะมีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม เพราะศีลธรรมเป็นหลักคำสอนทางศาสนาที่ว่าด้วยความประพฤติปฏิบัติชอบ ส่วนจริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติปฏิบัติชอบอันวางรากฐานอยู่บนหลักคำสอนของศาสนา ปรัชญาและขนบธรรมเนียมประเพณี อีกทั้งจริยธรรมมิใช่กฎหมาย ทั้งนี้เพราะกฎหมายเป็นสิ่งบังคับให้คนทำตาม และมีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ดังนั้น สาเหตุที่คนเคารพเชื่อฟังกฎหมายเพราะกลัวถูกลงโทษ ในขณะที่จริยธรรมไม่มีบทลงโทษ ดังนั้นคนจึงมีจริยธรรมเพราะมีแรงจูงใจ แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมในฐานะเป็นแรงหนุนจากภายนอกเพื่อให้คนมีจริยธรรม จากนิยามที่ยกมานั้น สามารถประมวลสรุปความได้ว่า
 จริยธรรม คือ แนวทางของ การประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เป็นประโยชน์สุขของตนเองและส่วนรวม
กล่าวโดยสรุป จริยธรรมก็คือ สิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ โดยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติที่ได้จากหลักการทางศีลธรรม หลักปรัชญา วัฒนธรรม กฎหมายหรือจารีตประเพณี เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม นอกจากนี้ จริยธรรมยังใช้เป็นแนวทางประกอบการติดสินใจเลือกความประพฤติ/การกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ด้วย
ลักษณะการปฏิบัติและลักษณะความคิดที่จัดเป็นคุณธรรมนั้นมีสภาพเป็นอยู่มากมาย จึงได้มีการจัดกลุ่มคุณธรรมหลักขึ้น เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจลักษณะคุณธรรมในระดับต่าง ๆ ดังลักษณะคุณธรรมที่ได้รวบรวมมาจากผล การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย ในส่วนของนโยบายและการพัฒนาเด็กระยะยาวด้านจริยธรรม จากแนวคิดของสาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี ดังต่อไปนี้
๑. การรักความจริง การไม่พูดปดและไม่ฉ้อฉล การรักษาคำมั่นสัญญา
๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น
๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ
๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ
๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง
๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม
๗. ความเสมอภาค
๘. ความเสียสละ
๙. ความซื่อสัตย์
๑๐. ความกล้า
๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง
๑๒. ความสามัคคี
๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย
๑๕. ความพากเพียรและอดทน
๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน
๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร
๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ
๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ
๒๑. การมีคาวรธรรม
๒๒. การมีสามัคคีธรรม
๒๓. การมีปัญญาธรรม
๒๔. ความไม่ประมาท
๒๕. ความกตัญญูกตเวที
๒๖. การรักษาระเบียบวินัย
๒๗. การประหยัด
๒๘. ความยุติธรรม
๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา